4 สิ่งต้องทำ ถ้าคิดจะทำเว็บไซต์

จากบทความที่แล้วผมได้พูดเกี่ยวกับว่า “ทำไม” เราต้องมีเว็บไซต์ ซึ่งก็ทำให้ใครหลายคนเริ่มมีความคิดว่า เราควรจะมี หรือ ทำเว็บไซต์ ซะที แต่ใช่ว่าทุกคนที่มีเว็บ จะประสบความสำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ให้บริการมา 10 ปี มีทั้งเว็บเกิดใหม่ และล้มหายตายจากไปก็หลายเว็บ ทำได้ปีเดียว ปีต่อไปไม่ต่ออายุ เพราะคิดว่าทำแล้วมันไม่เกิดประโยชน์อะไร เสียเงินเปล่าๆ เลยไม่ต่อ

วันนี้ผมเลยมาบอกเทคนิค เล็กๆ น้อยๆ ถ้าพร้อมแล้วก็กดดูในคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย พร้อมสรุปแบบละเอียดใต้วิดีโอ

 

4 สิ่งต้องทำ ถ้าคิดจะทำเว็บไซต์

  1. โดเมนกระชับ

ชื่อโดเมน ถ้าหาได้ ต้องสั้น  ตัวอักษรสะกดง่าย พยางค์น้อยๆ ยิ่งดี ไม่ควรเกิน 4 พยางค์  (แต่ส่วนใหญ่คำสั้นๆ มักถูกจดไปหมดแล้ว) เรามักจะเห็นว่าเว็บไซต์ ระดับโลก จะมีแค่ 2-3 พยางค์ เช่น google.com , facebook.com , apple.com , amazon.com , yahoo.com , microsoft.com , lazada.com ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็เช่น sanook.com , mthai.com , kapook.com , pantip.com , khaosod.co.th , thairath.co.th , tarad.com เป็นต้น

หรือถ้าเป็นแบบ Personal เว็บบุคคล ก็มักจะใช้ชื่อของตัวเอง เช่น boywisoot.com , bandit.org , coachsiriluck.com , kittitrirat.com เป็นต้น

 ผมขอสรุปหลักในการเลือกชื่อโดเมนดี (ตามแบบฉบับความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ท่านใดคิดต่างก็ไม่ว่ากัน)

  • ชื่อโดเมน จำนวนพยางค์เต็มที่ไม่ควรเกิน 4 พยางค์ : หากเลี่ยงไม่ได้ อาจใช้คำที่เข้าใจง่าย มีความหมายมาเสริมต่อท้าย หรือนำหน้า ชื่อเราอีกทีได้ เพราะชื่อโดเมนบางชื่อหายากแล้ว เช่น คำว่า thailand , coach , aj , class , course , trainner , trainning , school , book , food (คำที่บ่งบอกอาชีพของคุณ)
  • ชื่อโดเมน ไม่ต้องคำนึงถึง เอกพจน์ พหูพจน์ เอาแบบตรงๆ ไม่ต้องเติม s อะไรให้สะกดผิด
  • ควรหลีกเลี่ยงชื่อ เฉพาะแบบภาษาไทยที่สะกดยาก เช่น หากชื่อว่า บ้านโอบดาวแก่งกระจานรีสอร์ท นึกภาพเวลาเราคุยโทรศัพท์กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เราสามารถบอกชื่อเว็บเราให้ลูกค้าได้รับรู้ภายใน 7 วินาที เหรอเปล่า อย่างในกรณีตัวอย่างนี้สมมุติ เจ้าของ Resort ตั้งชื่อเต็มเลย คุณคิดว่าจะมีซักกี่คนที่สะกดถูกในครั้งเดียวบ้าง –>  BaanAobDaoKaengkrachanResort.com
    – บ้าน บางคนสะกด Baan  บางคนสะกด Ban
    – ดาว บางคนสะกด Dao , Down  หรืออาจจะเป็น Star ก็ได้
    – แก่งกระจาน ก็อาจมีคนสะกดผิดอีก พิมพ์ไปพิมพ์มา เข้าเว็บไม่ได้ เลิกหาเลยก็เป็นได้ และถ้ายิ่งหาใน Google ไม่เจออีกก็จบครับ
    กรณีนี้ น่าจะตั้งชื่ออะไรดีครับ ? แน่นอนมันเป็นชื่อรีสอร์ท ชื่อเฉพาะมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นต้อง ใช้ชื่อเฉพาะ โดยให้เราหาใน google นิดนึงว่าปกติ หากเราพิมพ์ภาษาไทยคำนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษว่าอะไร หรือ google แนะนำคำว่าอะไรให้ ถ้าจะแนะนำก็เป็น BaanAobDao.com ก็พอ ถ้าชื่อไม่ว่างก็ใส่คำว่า Resort ต่อท้ายเป็น BaanAobDaoResort.com
  • ชื่อโดเมนถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่ – กลาง กั้นคำ เพราะจะเป็นการเพิ่มพยางค์ การสนทนามากขึ้นไปอีก 1-3 คำเลย เช่น it-fever.com
    ภาษาพูดสื่อสาร :
    – ไอทีขีดฟีเวอร์ดอทคอม
    – ไอทีขีดกลางฟีเวอร์ดอทคอม,
    – ไอทีขีดกลางครับฟีเวอร์ดอทคอม
    – ไอทีแล้วก็ขีดกลางครับฟีเวอร์ดอทคอม มีขีดกลางด้วยนะครับ
    – ไอทีขีดกลางแล้วติดกันนะครับต่อด้วยฟีเวอร์ดอทคอม
    เป็นไงครับ สื่อสารยากขึ้นอีกเยอะเลย แต่ถ้าอยากแบ่งคำจริงๆ หรือชื่อที่เราต้องการจริงๆ มันถูกจดแล้ว ก็แล้วแต่พิจารณาครับ (ไม่ได้มีข้อห้ามอะไร)
  • หากต้องการทำ Personal Branding ชื่อคุณเหมาะสมที่สุด หากชื่อซ้ำ ลองใส่คำเพิ่ม เช่น ชื่อเล่นชื่อจริง.com , aj (อาจารย์) , coach , 9 (นาย) , nine , Mr หรือคำที่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น writer , trainner , specker , business หรือคำที่เป็นชื่อบริษัทอีกที ชื่อคุณชื่อบริษัท.com
  • ว่าด้วยเรื่อง DOT ต่อท้าย แนะนำ .com ครับ แนวที่สุดแล้ว ถ้าเป็นรูปบริษัท .co.th น่าเชื่อถือที่สุด เพราะนิติบุคคลเท่านั้นที่จดได้ คนธรรมดาจดไม่ได้
    อีก DOT ที่น่าสนใจ สำหรับลูกค้าในไทย ที่ไม่ใช้บริษัท คือ .in.th ดอทนี้ชื่อสวยๆ ยังว่างอีกเยอะ ครับ เพราะ .com คนจดกันทั่วโลก แต่ .in.th จดกันเพราะในไทย แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเปิดเว็บได้เฉพาะในไทยนะครับ เว็บไซต์ เปิดได้ทั่วโลกอยู่แล้วไม่ว่าจะ DOT อะไรก็ตาม แต่การสื่อสารก็จะยาวขึ้นอีกหลายพยางค์เลย ^_^

 

2. ชัดเจนเนื้อหา

  • เนื้อหาต้องไม่รก ดูแล้วสับสน ไม่รู้จะดูตรงไหนก่อน สำหรับหน้าแรก ผมแนะนำให้มีคอลัมน์เดียว หรืออาจจะไม่ควรเกิน 2 คอลัมน์ เพราะสายตาคนดูจะสับสนไม่รู้จะโฟกัสตรงไหน และเนื้อหาเอาเฉพาะเน้นๆ สรุปหัวข้อหลักๆ แล้วค่อยทำ Link ตามไปดูรายละเอียดได้
  • สำหร้บหน้าแรก (Home) พยายามทำให้หน้าตาดูคลีนๆ มีช่องว่างเยอะๆ เนื้อหาและคำอธิบายน้อยๆ ชัดเจน เน้นรูปภาพสวยๆ หรูๆ
  • เรื่อง Font สำหรับหัวข้อ อาจเปลี่ยนเป็น Font แปลกๆ อย่างเช่นตัวอย่างเว็บนี้ ส่วนเนื้อหาเอา font หัวกลมธรรมดา จะได้อ่านง่าย เพราะเราถูกฝึกมาให้เขียน อ่านภาษาไทย เป็นหัวกลมๆ มาตั้งแต่เด็ก
  • โทนสีเว็บ อาจจะอิงกับ Logo ของตัวเอง หรืออิงตามสินค้าหรือบริการของเรา หรือใครจะเอาเรื่องการถูกฉโลกมาใช้ก็ได้ แต่อย่าให้ฉุดฉาด แสบตา หลากหลายสีสันเกินไปก็พอ หรืออาจจะลองดูความหมายของทฤษฎีสี ก็ได้
  • สีพื้นหลัง ที่ใช้ใส่เนื้อหา แนะนำสีขาวเป็นสีหลัก เพราะง่ายต่อการจัดการใส่ภาพ และดูสะอาดตา เหมือนเราพิมพ์ข้อความลงกระดาษขาว

 

3. งานอัพเดทต้องมา

การทำเว็บไซต์ จริงๆ มันไม่มีวันเสร็จ เพราะเราต้องอัพเดทมันไปตลอด แน่นอนช่วงแรกๆ ในการก่อสร้างมาเป็นเว็บอาจจะใช้เวลานิดหน่อย และใช้พลังงานค่อนข้างมาก เมื่อเนื้อหาครบสมบูรณ์แล้ว งานต่อไปก็แค่หมั่นอัพเดทข้อมูล อาจจะไม่ต้องอัพกันทุกวัน เพราะเราไม่ใช่เว็บสำนักข่าว แต่ถ้าบางคนเขียนบทความลง facebook ทุกวันอยู่แล้ว ก็ไม่ยากที่จะเขียนบทความอัพเดทเว็บทุกวันได้ ซึ่งแน่นอนมันก็เป็นผลดีต่อการจัดอันดับบน Google ด้วย

แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถ เขียนบทความทุกวันได้ อย่างน้อยๆ ก็วันสำคัญๆ , วันที่จะจัดโปรโมชั่น ก็อัพเดทซักครั้ง และเมื่อโปรโมชั่นหมดก็อย่าลืมเอาออก อย่าทิ้งไว้ จนดูเหมือนเว็บร้างนะครับ เว็บร้างไม่ต่างอะไรกับบริษัทร้าง คนเข้าชมก็จะรีบหนีไปทันที (กลัวผีหลอก ^__^)

 

4. มือถือมาต้องเอาใจ

ทุกวันนี้คนเล่นมือถือ มากกว่าคอมพิวเตอร์แล้ว หากเว็บของคุณไม่สามารถแสดงผลได้ดีบนมือถือ หรืออ่านยาก ต้องใช้ 2 มือ ต้องซูม จะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้ หากคุณจะทำเว็บทั้งทีมันต้องดูดีกับทุกอุปกรณ์ เราเรียกว่า Responesive Design การออกแบบที่ปรับโครงสร้างการแสดงผลแบบอัตโนมัติ ซึ่งเว็บสมัยใหม่ต้องทำได้ทุกเว็บ และ WordPress ก็ทำได้เช่นกัน

ผมจะแนะนำให้ใช้ WordPress เพราะใช้งานง่าย เรียนรู้ได้เร็ว และเป็น Responesive ด้วย

เว็บนี้ก็ทำจาก WordPress และเว็บทั้งหมดของลูกค้าที่จะให้ทางผมทำ ผมจะหันมาใช้ WordPress ทั้งหมด แล้วพบกับขั้นตอนแบบสรุปว่าหากเราจะทำเว็บเป็นของตัวเองซักเว็บ มันจะมีขั้นตอนทำอย่างไรบ้าง